สาเหตุของปั้มตัน

CategoriesLifestyleTagged

ทุกๆ ท่านที่มีบ้านหรือคอนโดเคยประสบปัญหาเกี่ยวกับเรื่อง “ปั๊มๆ ” กันบ้างมั้ยครับ ซึ่งปั๊มน้ำนั้นต้องอาศัยการใช้งานที่ดี เหมาะสมกับประเภทและมีการดูแลที่ทั่วถึงด้วยเช่นกันครับ วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ “สาเหตุของปั้มตัน” หรือสิ่งที่จะทำให้เกิดอาการปั๊มน็อคกันดูครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น…เราไปดูคำตอบกันดีกว่าครับผม

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ ปั๊มน้ำ

ปั๊มน้ำ คือ เครื่องมือที่ช่วยในการส่งน้ำ ประกอบด้วย Mechanic และ Electricity / Engine มี 2 ส่วน คือ หัวปั๊ม มอเตอร์ และมอเตอร์ทำหน้าที่หมุนให้ตัวปั๊มเคลื่อนที่ เพื่อผลักน้ำจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง โดยแรงดัน และปริมาณน้ำ ตามการออกแบบของแต่ละการใช้งาน ช่วยเสริมน้ำให้แรงขึ้นไปถึงอีกจุดหนึ่งได้พร้อมกับปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าเราต้องการปริมาณน้ำมาก แรงดันจะน้อย ถ้าเราต้องการปริมาณน้ำน้อย แรงดันจะมาก

ปั๊มน้ำที่นิยมในงานตามบ้าน คือ ปั๊มแบบไหน?

ปั้มน้ำสำหรับที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว อาคารพาณิชย์ ทาวน์เฮ้าส์ จะรวมไปถึงอาคารขนาดเล็ก 5-7 ชั้น รวมไปถึงอาคารสูง 10 ชั้นไป ปั๊มน้ำในกลุ่มที่อยู่อาศัย แบ่งออกเป็น

►ปั๊มสูบน้ำเก็บบนอาคาร (Transfer) เป็นปั๊มที่ทำหน้าสูบจ่ายน้ำขึ้นไปเก็บไว้ในถังเก็บบนดาดฟ้าของอาคารสูง โดยปั๊มตัวนี้จะถูกติดอยู่ในบริเวณด้านล่างของอาคารสูง โดยส่วนใหญ่จะติดตั้งไว้เป็นจำนวน 2 ตัว หรือถ้าอาคารมีขนาดที่ใหญ่มาก ก็อาจจะเป็น 3 ตัว เพราะมีระบบการทำงานที่ต้องสลับกัน

►ปั๊มเสริมแรงดัน (Booster Pump) คือ ระบบเพิ่มแรงดัน (แบบปิด) และรักษาระดับแรงดันน้ำในท่อ โดยใช้ถังแรงดันเป็นตัวช่วยทำให้แรงดันน้ำในระบบมีความสม่ำเสมอ

►ปั๊มดับเพลิง (Fire Pump) สำหรับอาคาร คือ อุปกรณ์ที่ช่วยส่งผ่านพลังงานจากแหล่งต้นกำเนิดไปยังของเหลว ก๊าซ หรือของเหลวที่มีของแข็งเป็นส่วนประกอบ (Slurries) เพื่อทำให้ของเหลวเคลื่นที่จากตำแหน่งหนึ่งไปยังอีกตำแหน่งที่สูงกว่า หรือในระยะที่ไกลออกไป โดยการเพิ่มพลังงานเข้าไปในระบบ

►ปั๊มจุ่ม หรือ ปั๊มไดโว่ คือ ปั๊มชนิดนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการสูบน้ำออกจากบริเวณหนึ่งไปยังอีกบริเวณ เช่น การสูบน้ำท่วมขังภายในบ้าน, สูบน้ำบริเวณที่เป็นน้ำเสีย เป็นต้น

สาเหตุของปั๊มน้ำตัน

●ระบบท่อน้ำด้านดูด Suction รั่วซึม หรือมีอากาศค้าง ทำให้แรงดันภายในระบบต่ำจนไม่สามารถดันน้ำไปยังจุดที่ต้องการได้

●ระบบท่อน้ำด่านจ่าย Discharge รั่วซึม

ระบบควบคุมปั๊มน้ำทำงานผิดปกติ

●น้ำเป็นตะกรัน  ซึ่งตะกรัน คือ คราบ เมือก เศษตะกอน อาจจะเป็นคราบหินปูนที่เกิดจากสารละลายต่าง ๆ เช่น เกลือแคลเซียม, แมกนีเซียมคาร์บอเนต ซึ่งตะกรันพวกนี้ก็จะไปจับติดกับพื้นผิวและพอกหนาขึ้นเรื่อยๆ จนก่อให้เกิดอาหารปั้มตันได้นั้นเองครับ

●ใบพัดปั๊มน้ำชำรุด การที่ใบพัดชำรุดจะให้ทำให้แรงดันภายในตกเช่นกัน เมื่อทิ้งเอาไว้นานๆ อาจทำให้ปั้มเสียหรือตันได้ในอนาคต

วิธีดูแลรักษาปั๊มน้ำ

●ตรวจสอบปั๊มน้ำขณะที่ทำงานอยู่ : เป็นการวัดค่าพื้นฐานของปั๊มน้ำในแต่ละวัน เช่น แรงดันขาออก, ระดับเสียง, แรงสั่นสะเทือน, อุณหภูมิและกระแสไฟฟ้าของมอเตอร์ เป็นต้น เพราะค่าต่างๆนี้สามารถบ่งบอกได้ถึงความผิดปกติต่างๆในเบื้องต้นเพื่อป้องกันความเสียหายที่มากขึ้นในอนาคต

●การเปลี่ยนซีลกันรั่วของปั๊มน้ำ เพื่อป้องกันน้ำรั่ว

●การเปลี่ยนลูกปืน : ส่วนมากอายุการใช้งานของลูกปืนจะอยู่ที่ประมาณ 2-3 ปี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นอายุการใช้งานอาจลดลงได้จากลักษณะการใช้งาน เช่น อุณหภูมิโดยรอบของลูกปืนที่สูงมากเกินไปจะทำให้จารบีละลายและทำให้ลูกปืนเป็นสนิมได้ นอกจากนี้ความชื้นและฝุ่นละอองก็สามารถส่งผลได้เช่นเดียวกัน ซึ่งสังเกตง่ายๆได้จากการฟังเสียงของปั๊มน้ำตอนเริ่มทำงานว่ามีเสียงอะไรที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่นั้นเองครับ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “สาเหตุของปั้มตัน” ที่พวกเราได้รวบรวมมาฝากท่านผู้อ่านที่สนใจกันในวันนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยกันนะครับ

About the author