วิธีการดูแลปั้ม

CategoriesLifestyleTagged

“ปั้ม” เป็นอุปกรณ์ชั้นดีที่จะทำให้ทุกๆ บ้านและอาคารต่างๆ สามารถใช้งานระบบน้ำได้ง่ายและสะดวกสบายเนอย่างมากเลยหล่ะครับ วันนี้เราจะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “วิธีการดูแลปั้ม” ที่จะช่วยให้ปั้มมีอายุการใช้งานที่ยืนยาวมากขึ้นเลยหล่ะครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา…เราไปชมกันเลยดีกว่าครับผม

ปั้มน้ำมีหน้าที่อย่างไร?

ปั๊มน้ำคือเครื่องมือที่ช่วยในการส่งน้ำ ประกอบด้วย mechanic และ Electricity / engine มี 2 ส่วน มีหัวปั๊มและมอเตอร์ มอเตอร์ทำหน้าที่หมุนให้ตัวปั๊มเคลื่อนที่เพื่อผลักน้ำจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งไปโดยแรงดันและปริมาณน้ำ ตามการออกแบบของแต่ละการใช้งาน ช่วยเสริมน้ำให้แรงขึ้นไปถึงอีกจุดหนึ่งได้พร้อมกับปริมาณน้ำที่เพิ่มมากขึ้นนั้นเองครับ

การเลือกปั้มน้ำให้เหมาะกับการใช้งาน

ควรเลือกขนาดของวัตต์ ปั๊มน้ำ ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ควรปรึกษาพนักงานขาย ให้ดีเสียก่อน เพราะการเลือกขนาดของปั๊มน้ำผิด จะทำให้
●หากเลือกวัตต์น้อย : เปลืองค่าไฟ เพราะปั๊มน้ำทำงานหนัก
●หากเลือกวัตต์มาก : ท่อน้ำภายในบ้าน อาจรั่ว หรือชำรุดเสียหายได้ เพราะแรงดันน้ำมีมากเกินไป

นอกจากนั้น ควรที่จะเดินท่อของระบบน้ำในบ้าน แบบตรง (Bypass) เข้าบ้าน โดยไม่ผ่านปั๊มน้ำด้วย เพราะจะได้มีน้ำใช้ ซึ่งอาจจะไหลเบา แต่ก็ยังมีใช้อยู่ ในกรณีที่ไฟฟ้าดับ

5 แนวทางการดูแลปั้มน้ำ

●หมั่นสังเกตุการทำงานของปั๊ม พยายามสังเกต โดยดูจากแรงของน้ำว่าเป็นปกติหรือไม่     ฝักบัวหรือเรนชาวเวอร์น้ำยังแรงดีอยู่มั๊ย     เครื่องทำน้ำอุ่นอุณหภูมิยังสม่ำเสมอดีอยู่หรือเปล่า แล้วก็คอยฟังเสียงบ้างว่าปั๊มตัดต่อตามจังหวะการใช้น้ำหรือมีเสียงตัดต่อถี่ๆ บ่อยๆ ถ้ามีเสียงดังเป็นจังหวะและต่อเนื่อง  ก็อาจเป็นเพราะมีสิ่งของชิ้นเล็กๆเข้าไปรบกวนการหมุนของมอเตอร์ปั๊มน้ำ  ทุกๆ เดือนคุณควรเปิดฝาครอบดูปั๊มสักครั้งนึง  เพื่อตรวจดูความเรียบร้อยเช่น มีน้ำหยดน้ำซึมตรงไหนบ้างหรือเปล่า  หลายๆ ครั้งที่เราพบมาก็จะมีพวกจิ้งจกเข้าไปตายติดอยู่ในใบพัดระบายความร้อนท้ายมอเตอร์  ซึ่งเป็นจุดที่จิ้งจก แมลง  ต่างๆ  หรือหอยทากสามารถเข้าไปได้  เมื่อใบพัดทำงานก็จะทำให้ติดขัดหมุนไม่นิ่งและมีเสียงดัง

●อย่าให้มีจุดน้ำรั่วซึมในบ้าน ถ้ามีจุดที่น้ำหยดหรือรั่วไหลเป็นระยะเวลานาน   ก็จะทำให้ปั๊มทำงานต่อเนื่องโดยไม่จำเป็นซึ่งนอกจากเปลืองไฟแล้วยังจะทำให้ปั๊มทำงานหนักเกินไป   เมื่อใช้น้ำเสร็จแล้วจึงควรปิดก๊อกให้สนิท  และเมื่อพบจุดรั่วซึมในบ้านต้องรีบจัดการแก้ไขซ่อมแซมให้เรียบร้อยโดยเร็ว

●ปิดปั๊มทุกครั้งที่ไม่ได้ใช้งาน ปล่อยน้ำออกเมื่อไม่ได้ใช้นานๆอย่างเช่นบ้านที่ปิดไว้รอคนมาเช่าและต้องหยุดเดินปั๊มน้ำเป็นระยะเวลานาน     ก็ควรปล่อยน้ำออกจากปั๊มโดยการปิดเบรกเกอร์  ปิดวาวล์น้ำเข้า  แล้วเปิดก๊อกให้น้ำไหลออกจนหมด  แล้วปิดก๊อกให้สนิท แต่ถ้าคุณไปเที่ยวประมาณสัก 2 สัปดาห์ก็แค่ปิดเบรกเกอร์อย่างเดียวก็เพียงพอครับ

●ควรกรองน้ำก่อนเข้าปั้ม เพราะน้ำประปาหรือน้ำบาดาลอาจมีสารหรือคราบสกปรกปะปมกันอยู่ที่เราจะเรียกกันในชื่อ “ตะกรัน ” โดยตะกรัน คือ คือ คราบ เมือก เศษตะกอน อาจจะเป็นคราบหินปูนที่เกิดจากสารละลายต่าง ๆ เช่น เกลือแคลเซียม, แมกนีเซียมคาร์บอเนต ซึ่งตะกรันพวกนี้ก็จะไปจับติดกับพื้นผิวและพอกหนาขึ้นเรื่อยๆ จนก่อให้เกิดอาหารปั้มตันและพังได้ในที่สุดนั้นเองครับ

●ทำการบำรุงรักษาปั้มโดยการทำ Overhaul ซึ่งจะเป็นการรื้อถอนส่วนประกอบปั๊มน้ำเพื่อซ่อมบำรุง เพราะวัสดุต่างๆจะมีการสึกหรอเมื่อใช้งานทำให้ประสิทธิภาพของปั๊มน้ำลดลง จึงต้องมีการทำความสะอาดและซ่อมแซมทุกๆ 3-5 ปีต่อครั้ง

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “วิธีการดูแลปั้ม” ที่เราได้นำมาฝากท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ คิดว่าจะช่วยให้เข้าใจและเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ

About the author